|
|||||||||||||
- คุณลักษณะของการยอมให้แสดงออกได้อย่างเต็มที่ซึ่งจินตนาการ อารมณ์ที่หวั่นไหว และความรู้สึกทางใจ - ในดนตรีและวรรณกรรม หมายถึง คำที่ตรงกันข้ามกับคำว่า Classicism เสรีภาพที่พ้นจากการเหนี่ยวรั้งทางจิตใจ หรือจารีตนิยมเพื่อที่จะกระทำการในเรื่องใด ๆ สมัยโรแมนติกเริ่มต้นขึ้นในตอนต้นของศตวรรษที่ 19แต่รูปแบบของดนตรีโรแมนติกเริ่มเป็นรูปแบบขึ้นในตอนปลายของศตวรรษที่ 18 แล้วโดยมีเบโธเฟนเป็นผู้นำ และเป็นรูปแบบของเพลงที่ยังคงพบเห็นแม้ในศตวรรษที่ 20 นี้ สมัยนี้เป็นดนตรีที่แสดงออกถึงอารมณ์ความรู้สึกของ ผู้ประพันธ์อย่างมาก ผู้ประพันธ์เพลงในสมัยนี้ไม่ได้แต่งเพลงให้กับเจ้านายของตนดังในสมัยก่อน ๆ ผู้ประพันธ์เพลงแต่งเพลงตามใจชอบของตน และขายต้นฉบับให้กับสำนักพิมพ์เป็นส่วนใหญ่ ลักษณะดนตรีจึงเป็นลักษณะของผู้ประพันธ์เอง |
|||||||||||||||
ลักษณะของดนตรีโรแมนติก (ไขแสง ศุขะวัฒนะ,2535 :111) | |||||||||||||||
1. คีตกวีสมัยนี้มีความคิดเป็นตัวของตัวเองมากขึ้น
สามารถแสดงออกถึงความรู้สึกนึกคิด อย่างมีอิสระ ไม่จำเป็นต้องสร้างความงามตามแบบแผนวิธีการ และไม่ต้องอยู่ภายใต้อิทธิพลของผู้ใดทั้งนี้เพราะเขาไม่ได้อยู่ในความอุปภัมภ์ของโบสถ์ เจ้านาย และขุนนางเช่นคีตกวีสมัยคลาสสิกอีกต่อไป 2. ใช้อารมณ์ และจินตนาการเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างสรรค์ผลงาน 3. ลักษณะที่เปลี่ยนไปอยู่ภายใต้อิทธิพลของ ลัทธิชาตินิยม (Nationalism) 4. ลักษณะที่ยังคงอยู่ภายใต้อิทธิพลของ ลัทธินิยมเยอรมัน (Germanism) 5. ลักษณะภายในองค์ประกอบของดนตรีโดยตรง 5.1 ทำนอง ลีลาและบรรยากาศของทำนองเน้นความรู้สึก และอารมณ์ของบุคคลมากขึ้นมีแนวเหมือนแนวสำหรับขับร้องมากขึ้น และความยาวของวลี (Phrase) ก็เปลี่ยนแปลงไปโดยไม่จำกัด 5.2 การประสานเสียง โครงสร้างของคอร์ดและลำดับการใช้คอร์ด มีเสรีภาพมากขึ้นการใช้คอร์ด 7 คอร์ด 9 อย่างมีอิสระ และการย้ายบันไดเสียงแบบโครมาติค (Chromatic Modulation) มีบทบาทที่สำคัญ 5.3 ความสำคัญของเสียงหลัก (Tonality) หรือในคีย์ยังคงมีอยู่ แต่เริ่มคลุมเครือหรือเลือนลางไปบ้าง เนื่องจากบางครั้งมีการเปลี่ยนบันไดเสียงออกไปใช้บันไดเสียงที่เป็นญาติห่างไกลบ้าง หรือ Chromatic Modulation 5.4 พื้นผิว ในสมัยนี้โฮโมโฟนียังคงมีความสำคัญมากกว่าเคาน์เตอร์พอยท์ 5.5 ความดังเบาของเสียง (Dynamics) ในสมัยนี้ได้รับการเน้นให้ชัดเจนทั้งความ ดัง และความเบาจนเป็นจุดเด่นจุดหนึ่ง |
|||||||||||||||
ประวัติผู้ประพันธ์เพลง |
|||||||||||||||
|
|||||||||||||||
ผลงานที่มีชื่อเสียง |
|||||||||||||||
ผลงานโอเปร่าของรอสชินีได้แก่
La Scala di Seta, La Gazza Ladra, La Cenerentola, Semiramide, The Baber
of Seville และ William Tell |
|||||||||||||||
|
|||||||||||||||
ประถมที่พ่อของเขาสอนอยู่ และก็ได้เริ่มฝึกหัดเปียโนบ้างเมื่ออายุ 8 ขวบพ่อก็สอนไวโอลิน และทำการฝึกซ้อมให้อย่างสม่ำเสมอ ในไม่ช้าเขาก็สามารถเล่นเพลงดูเอท (Duet) อย่างง่าย ๆ ได้อย่างดี ตลอดช่วงชีวิตสั้น ๆ ของชูเบิร์ทเพียง 31 ปี แทบไม่เคยได้รับการยกย่องในฐานะผู้ประพันธ์เพลงแต่อย่างใดเขาได้ทิ้งผลงาน ซิมโฟนี 8 เพลง สตริงควอเตท 19 เพลงเปียโนโซนาต้า 21 เพลง และอื่น ๆ อีกกว่า 600 | |||||||||||||||
ผลงานที่มีชื่อเสียง |
|||||||||||||||
Symphony No.5
in B flat:First movement 1816, Great C Major Symphony, Unfinished Symphony
(ชูเบิร์ทยังประพันธ์ไม่เสร็จเพราะถึงแก่กรรมก่อน), String Quartet No. 13
in A minor : Second movement 1823, Rosam under : incidentat Music(ใช้ประกอบการแสดงบัลเลย์)
|
|||||||||||||||
|
|||||||||||||||
ไปซึ่งจะทำให้ผิดเป้าหมายของพ่อที่ต้องการให้เขาเรียนหมอ
บ่อยครั้งที่เขารู้สึกว่าตัวเองขาดความสามารถในทางคีย์บอร์ดไป ซึ่งความรู้สึกดังกล่าวนี้ทำให้เขาไม่มั่นใจในการประพันธ์เพลงแต่ต่อมาเขาก็พยายามหาความรู้จนสามารถทำได้ดี
(ไพบูลย์ กิจสวัสดิ์, 2535 :94) ชีวิตที่หักเหจากเขาได้ไปเรียนแพทย์ตามที่พ่อต้องการได้ไม่นานเบร์ลิโอสไม่ได้มีความสน ใจเรียนหมอเลยนอกจากสนใจอยู่กับสมุดโน้ตดนตรีเพียงอย่างเดียว เขาจึงเรียนไปไม่ตลอด เขาตัด สินใจเบนเข็มชีวิตมุ่งสู่โลกแห่งดนตรีอย่างจริงจัง แม้ชื่อเสียงจะยังไม่เป็นที่รู้จักกันทั่วไปแต่เขาก็รู้สึก ว่าตนมีชีวิตแนบแน่นกับดนตรี เบร์ลิโอสหลงรักนักแสดงอุปรากรชื่อ ฮาร์เรียต สมิธสัน ตอนแรกเธอเห็นเป็นเรื่องตลก เพราะเบร์ลิโอสสารภาพรักอย่างสายฟ้าแลบทันทีที่เข้าถึงตัวทั้ง ๆ ที่เขาทั้งสองไม่เคยรู้จักกันมา ก่อน แต่ฝ่ายหญิงไม่เล่นด้วยจึงทำให้เขาผิดหวังอกหัก ความผิดหวังครั้งนี้เป็นต้นเหตุทำให้เขาแต่งเพลง ซิมโฟนี ฟานทาสติค (Symphonie Fantastique) ในที่สุดเขาก็ได้แต่งงานกับฮาร์เรียต สมิธสัน เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม ค.ศ. 1833 มีบุตรชายด้วยกัน 1 คน สำหรับเบร์ลิโอสแล้วเขาเป็นคนช่างฝัน เขาขาดความรักเป็นไม่ได้ หลังจากที่แยกทางกับ ฮาร์เรียต แล้ว เขาแต่งงานอีกครั้งกับ มารี (Marie Recio) หลังจากนั้นไม่นานฮาร์เรียตก็สิ้นชีวิตเบร์ลิโอสดูเหมือนจะถูกกำหนดให้เลี้ยงชีพด้วยความรักมีอยู่ 2 สิ่งที่สำคัญที่สุดในชีวิตของเขาจึงหนีไม่พ้นดนตรีกับความรักแค่นี้เขาก็อยู่ได้ เบร์ลิโอสถึงแก่กรรมด้วยโรคลำไส้เมื่อวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ. 1869 ในกรุงปารีส ตลอดชีวิตของเขา ความรักคืออาหารและของแสลงในเวลาเดียวกัน ผลงานของเขาจึงออกมาในลักษณะของภาพเหตุการณ์ในชีวิตที่ขมขื่นเป็นส่วนมาก แม้ในปลายชีวิตฐานะของเขาค่อนข้างดี แต่มันก็ไม่มีความหมายสำหรับเขามากนัก เขาประพันธ์ดนตรีด้วยอารมณ์ส่วนตัวมากกว่าจะคำนึงถึงคนฟัง แต่ผลงานของเขาก็ยังได้รับความนิยมจากผู้ฟังจนกระทั่งปัจจุบัน บทประพันธ์ของเบร์ลิโอสมีลักษณะเด่นอยู่ 2 ประการคือ การเรียบเรียงเสียงประสานสำหรับวงออร์เคสตราและผลงานระดับใหญ่เสมอ เขาไม่สนใจกับการแต่งเพลงให้เครื่องดนตรีเดี่ยว |
|||||||||||||||
ผลงานที่มีชื่อเสียง |
|||||||||||||||
Symphonic fantastique
: First movement 1830(เป็นซิมโฟนีที่แต่งขึ้นจากความชอกช้ำที่ถูกปฏิเสธความรัก),
Harold in Italy : PilgrimsMarch 1834, Dramatic Symphony 1838 ,Roman Carnival
1844,Hungarian March 1848,The Pirate 1854 Top |
|||||||||||||||
|
|||||||||||||||
มีความเป็นอยู่ที่แสนลำบากยากเข็ญแทบทุกคนแต่เมนเดลโซห์นเขาใช้ความร่ำรวยของเขาไปใช้ในทางสร้างสรรค ์ความสุขให้แก่มวลมนุษย์ ด้วยเสียงเพลงซึ่งชื่อเฟลิกซ์ (Felix) เป็นคำภาษาลาตินแปลว่า ความสุข (ณรุทธ์ สุทธจิตต์,2535 :164) ชีวิตของเมนเดลโซห์นเป็นชีวิตที่สบายเกินกว่านักดนตรีหรือผู้ประพันธ์เพลงทั่วไปจะมีแต่ว่าสังขารหรือสุขภาพของเขาไม่สู้จะดีนักในช่วงอายุประมาณ 30 กว่า ๆ และพออายุได้ 38 ปี พี่สาวซึ่งเป็นที่รักของเขาที่ชื่อแฟนนี่เสียชีวิตลง เขาเสียใจมากทำให้สุขภาพทรุดหนักลงไปอีกจนใน
|
|||||||||||||||
ผลงานที่มีชื่อเสียง |
|||||||||||||||
Hebrides Overture
1830, Scottish Symphony : Second movement 1842, A Midsummer Nights Dream
1843,Violin Concerto in E minor 1844 , Song without Words 1845 Top |
|||||||||||||||
|
|||||||||||||||
โชแปงเริ่มเรียนเปียโนเมื่ออายุ
7 ขวบกับครูดนตรีชื่อ อดาลแบต์ ซิวนี (Adalbert Zywny) ชาวโบฮีเมีย เนื่องจากครูคนนี้ชอบดนตรีของบาค
โมสาร์ท และเบโธเฟน เป็นพิเศษจึงถ่ายทอดความคิดของเขาให้โชแปง ต่อจากนั้นโชแปงได้เรียนกับครูคนใหม่ชื่อโยเซฟ
เอ็ลสเนอร์ (Joseph Elsner) จนกระทั่งอายุได้ 16 ปีก็เข้าสถาบันดนตรีแห่งวอร์ซอว์
ซึ่งเอ็ลสเนอร์ดำรงตำแหน่งผู้จัดการ ณ จุดนี้เองที่ทำให้โชแปงเรียนดนตรีอย่างเต็มที่
(ไพบูลย์ กิจสวัสดิ์, 2535 :105) ในสมัยนั้นเป็นช่วงของการอภิวัฒน์ทางศิลป์ และศิลปินเริ่มมีความสำคัญต่อสังคมมากขึ้น ทั้งนักดนตรี นักวาดรูป และนักประพันธ์ สามารถสมาคมกับข้าราชการหรือเจ้านายชั้นสูงในฐานะเท่าเทียมกัน โชแปงได้รับเชิญไปบรรเลงเปียโนเสมอมาจากการบรรเลงนี้รวมทั้งการสอนดนตรี ทำให้โชแปงสามารถช่วยตัวเองให้ดำรงอยู่ได้ ชื่อเสียงของโชแปงโด่งดังเพราะเขาได้พัฒนาบทเพลงสั้น ๆ สำหรับเปียโนหรือที่เรียกกันว่า Character Piece และมักจะพิมพ์เป็นชุด ๆ เช่น 24 preludes หรือ 12 ededes เป็นต้นและ แต่ละเพลงสั้นกว่าโซนาตา (Sonata) หรือบัลลาด (Ballade) มากแต่เรื่องอารมณ์เพลงแล้วกว้างขวางมากซึ่งโชแปงแสดงอารมณ์เพลงโดยใช้ลักษณะการประสานเสียงและใช้ทำนองเพลง โชแปงเป็นคนที่มีสุขภาพไม่สู้จะดีนักมีอาการเจ็บป่วยหลาย ๆ ครั้งจนครั้งสุดท้ายเขาเกิดอาการไอจนเป็นเลือดแต่นายแพทย์ก็ช่วยไว้ได้จนในที่สุดช่วงใกล้จะถึงแก่กรรมด้วยความรัก แผ่นดินเกิดโชแปงได้ขอร้องให้เอาก้อนดินจากโปแลนด์ที่ครูและเพื่อน ๆ ให้มาเมื่อวันจากวอร์ซอว์นั้นมาจูบเป็นครั้งสุดท้ายและขอให้ทำพิธีต่าง ๆ ทางศาสนาแบบคริสเตียนได้ขอร้องให้เพื่อน ๆ ที่อยู่ใกล้ชิดตอนนี้ให้พิมพ์บทเพลงของเขาที่ยังไม่ได้พิมพ์นั้นด้วย เวลาเขาตายแล้วให้เล่นเพลง เรควิเอม (Requiem) ของโมสาร์ทในงานศพของเขาด้วยกับให้เล่นเพลง Funeral March from the Sonata,Opus 35 the E minor และ B minor Preludes โดยใช้ออร์แกน
|
|||||||||||||||
ผลงานที่มีชื่อเสียง |
|||||||||||||||
ผลงานของโชแปงแทบทั้งหมดเป็นประเภทดนตรีสำหรับเปียโน
ดนตรีของโชแปงเป็นดนตรีที่แสดงออกถึงความรู้สึกโรแมนติกซึ่งเต็มไปด้วยความสวยงามและการกลั่นกรองให้เป็นผลงานคุณภาพทั้งสิ้น
ผลงานที่เด่นประกอบด้วย Ballade No.1 in G minor,Berceuse in D flat, Funeral
March Piano Concerto No.1 in Em 1830, Twelve Etudes in Gb 1830, Mazurka
in Cm 1830-49, Nocturne in C Sharp minor,Nocturne in Eb 1830-46 , Waltz
in E flat |
|||||||||||||||
นักดนตรีและเขาก็ทำได้สำเร็จเขาถือว่าเป็นนักดนตรีในสมัยโรแมนติกที่สร้างสรรค์ผลงานดีเด่นใน รูปแบบของสมัยนี้ผู้หนึ่ง พ่อเสียชีวิตไปก่อนแต่เขาก็ไม่สามารถเป็นนักเปียโนได้ดังใจนึกเพราะเขาประสบอุบัติเหตุ นิ้วนางข้างขวาไม่ทำงานชูมานน์มีความสามารถในการเขียนหนังสือซึ่งได้รับ อิทธิพลมาจากพ่อที่มีร้านขายหนังสือเขาเริ่มเป็นนักเขียนและ
ของชูมานน์เป็นนักเปียโนและผู้ประพันธ์เพลง ช่วงประมาณปี ค.ศ.1854 ชูมานน์เริ่มอาการทางประสาท ซึ่งภรรยาเขามีส่วนช่วยเหลือพยาบาลชูมานน์ซึ่งป่วยเป็นโรคประสาทอย่างแรงถึงกับเคยฆ่าตัวตายแต่มีคนช่วยไว้ได้เมื่ออายุได้ 46 ปี อย่างไรก็ตามชีวิตหลังจากนั้นก็มืดมนไม่มีใครแก้ไขได้ ชูมานน์จึงถึงแก่กรรมในอีกสองปีต่อมา |
|||||||||||||||
ผลงานที่มีชื่อเสียง |
|||||||||||||||
Carnaral : Arlequin
1835, Scenes from Childhood : Dreaming 1838 Top |
|||||||||||||||
|
|||||||||||||||
ของเขาเล่นจบแล้วหลายชั่วโมงนั้นแสดงให้เห็นว่าความประทับใจที่มีต่อการแสดงดนตรีของพ่อมากกว่าจากความจำเพราะเด็กเพียง
6 ขวบยังคงจำความไม่ได้ถึงขนาดนี้ ลิสซต์ได้มีโอกาสเดินทางไปแสดงคอนเสิร์ตหลาย ๆ แห่งเช่น กรุงปารีส กรุงลอนดอน กรุงเวียนนา กรุงมอสโคว์ และกรุงโรม จากการแสดงคอนเสิร์ต ของเขานี้เองทำให้เขามีประสบการณ์ชีวิตมากมายทั้งเรื่องดีและไม่ดี มีคนรู้จักและได้รู้จักผู้คนทั้งนักดนตรีเอกของโลกหลาย ๆ ท่านและได้แสดงความสามรถต่อหน้าสาธารณชนมากมาย ทั้งยังเป็นผู้ที่ผู้จัดตั้งสถาบันดนตรีที่มีชื่อเสียงระดับโลกคือ Liszt Academy of Music ณ นครบูตาเปชต์ ลิสซต์เป็นนักรักตัวฉกาจจนได้รับสมญาว่า ดอนฮวน (Don Juan) หรือจะเรียกเขาว่า คาซาโนว่า (Casanova) แห่งฮังการีก็ไม่ผิดนัก (ไพบูลย์ กิจสวัสดิ์,2535:124) ในบั้นปลายชีวิตคือตั้งแต่ ค.ศ. 1880 -1885 เขาได้ทุ่มเทกำลังกายและกำลังใจในการเป็นครูและในบรรดาลูกศิษย์ลูกหาของเขาล้วนแล้วแต่เป็นผู้ที่มีความสามารถทั้งสิ้นเช่น Felix Weingartner, Moriz Rosenthal, Frederic Lamond, Emil Sauer และ Alexander Siloti นอกจากนี้ยังมีสตรีชาวรัสเซียอีกคนชื่อ Baroness Olga Meyondoff (Princess Gorstchakow) จากการท่องเที่ยวและตรากตรำในการงานมากเกินไป ทำให้เขารู้สึกอ่อนเพลียไปทั่วสรรพางค์กาย และโรคภัยไข้เจ็บเริ่มเบียดเบียนวันที่ 20 กรกฎาคม ค.ศ. 1886 ขณะที่พำนักอยู่กับลูกสาว ณ เมืองไปรอยธ์ประเทศเยอรมัน เขาได้ป่วยเป็นไข้หวัดอย่างแรงและนิวมอเนีย (Pneumonia) เข้าแทรก จึงทำให้เขาถึงแก่กรรมอย่างสงบ เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม ค.ศ. 1886 รวมอายุ 75 ปี ศพของลิสซต์ถูกฝังไว้ ณ เมืองไบรอยธ์ |
|||||||||||||||
ผลงานที่มีชื่อเสียง |
|||||||||||||||
Piano Concerto
No.1 in E flat Allegro maestoso 1830-49, Symphonic poem No.3 1848, Hungarian
Rhapsody No. 2 1885 Top |
|||||||||||||||
|
|||||||||||||||
ผลงานที่มีชื่อเสียง |
|||||||||||||||
ผลงานที่เด่นประกอบด้วย
The Mastersingers of Nuremberg : Prelude 1868Lohengrin : Bridal March 1850, Siegfried Idy II 1870, The Valkyries : Ride of the Valkyries 1870 Top |
|||||||||||||||
|
|||||||||||||||
เมื่ออายุ
10 ขวบ พ่อได้ส่งเขาไปเรียนหนังสือที่เมืองบุสเซโต ซึ่งอยู่ห่างจากรอนโคลประมาณ
3 ไมล์ พ่อได้นำเขาไปฝากไว้กับเพื่อนที่สนิทคนหนึ่งมีอาชีพเป็นช่างซ่อมรองเท้าอยู่ในเมืองนั้นเมื่อมีเวลาว่างแวร์ดีมักจะไปขลุกอยู่กับแอนโตนิโอ บาเรสซี่ (Antonio Barezzi) เจ้าของร้านขายของชำผู้มั่งคั่งและที่สำคัญที่สุดก็คือที่นั่นมีแกรนด์เปียโนอย่างดีทำมาจากกรุงเวียนนา แวร์ดีมักจะมาขอเขาเล่นเสมอ ๆ เมื่อบาเรสซี่เห็นหน่วยก้านเด็กคนนี้ว่าต่อไปอาจจะเป็นนักดนตรีผู้อัจฉริยะ จึงรับมาช่วยงานเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ร้านขายของชำของเขาในตอนเย็นหลังจากเลิกโรงเรียนแล้วจากนั้นไม่นานนักเขาก็ตัดสินใจรับเด็กน้อยแวร์ดีมาอยู่ที่ร้านและอยู่ในความอุปการะของเขา ที่นี่เองเด็กชายวัย 14 ขวบ ก็ได้เล่นเปียโนดูเอทคู่กับมาร์เกริตา (Margherita) เด็กหญิงวัย 13 ขวบ ซึ่งเป็นลูกสาวของบาเรสซี่นั่นเอง ซึ่งต่อมาทั้งคู่ก็ได้แต่งงานกันในวันที่ 4 พฤษภาคม ค.ศ. 1836 บาเรสซี่มักจะใช้เวลาส่วนมากมาคอยดูแลและนั่งฟังเด็กน้อยทั้งสองเล่นเปียโนด้วยความพอใจอย่างยิ่งเขาให้ความรักและสนิทสนมกับเด็กน้อยแวร์ดีอย่างลูกชายของเขาทีเดียว ผลงานส่วนใหญ่ของแวร์ดี คืออุปรากรหรือโอเปร่า (Opera) เพราะสมัยของแวร์ดีนั้น ชาวอิตาเลียนชอบชมอุปรากรมากแวร์ดีเป็นคนที่มีความเสียสละมาตลอดชีวิตเมื่อภรรยาและตัวเขาเองตายไปแล้วทรัพย์สมบัติทั้งหมดก็ถูกนำไปใช้สร้างอาคารสงเคราะห์ให้เป็นที่พักอาศัยของนักดนตรีที่ยากจนนอกนั้นก็นำไปใช้สร้าง โรงแสดงดนตรีแวร์ดี (Verdi Concert Hall) และพิพิธภัณฑ์แวร์ดี (Verdi Museum) ในเมืองมิลาน เป็นอนุสาวรีย์เตือนชาวโลกให้รำลึกถึงเขาในฐานะคีตกวีผู้ยิ่งใหญ่ของ อิตาลีและของโลก การมรณกรรมของเขาจึงมิใช่เป็นการสูญเสียผู้ประพันธ์โอเปร่าที่ยิ่งใหญ่เท่านั้น |
|||||||||||||||
ผลงานที่มีชื่อเสียง |
|||||||||||||||
ผลงานโอเปร่าที่เด่นประกอบด้วย
Nabucco : Chorus 1842, Macbeth : Aria from Act III 1847,La traviata 1853,
Aida : Triumphal Scene 1871 Top |
|||||||||||||||
|
|||||||||||||||
รนและประหยัดเพื่อหาครูที่ดีที่สุดเท่าที่จะหาได้มาสอนเปียโนและการประพันธ์ดนตรีให้แก่ลูกน้อยพ่อเองเคยได้รับบทเรียนมาก่อนเมื่อถูกกีดกันไม่ให้เรียนดนตรีในวัยเด็กต้องแอบฝึกซ้อมเอาเองเท่าที่โอกาสด้วยความที่พ่อเองรักดนตรีและบราห์มส์ก็ชอบดนตรีอย่างพ่อ
พ่อจึงสนับสนุนอย่างเต็มที่แม่เองก็เป็นคนที่รักดนตรีเช่นกันดังนั้นเขาจึงไม่มีอุปสรรคในเรื่องการเรียนดนตรีมีก็แต่ความขัดสนเรื่องเงิน
อย่างไรก็ตามเพื่อให้ความหวังเป็นจริงพ่อจึงคิดหารายได้ให้มากกว่าที่เป็นอยู่จึงแยกตัวออกจากวงออร์เคสตร้ามาตั้งวงขนาดย่อม
ๆ แบบวงดนตรีเชมเบอร์ มิวสิก (Chamber Music) รับจ้างเล่นตามสถานที่ต่าง ๆ
(ไพบูลย์ กิจสวัสดิ์, 2535 :176) บราห์มส์เรียนเปียโนกับ คอสเซ็ล (Cossel) เมื่ออายุ 8 ขวบ จากนั้นพออายุได้ 10 ขวบ ก็เปลี่ยนไปเรียนกับ มาร์กเซ็น (Marxsen) บราห์มส์ประพันธ์ดนตรีและรับจ้างเรียบเรียงแนวบรรเลงให้กับวงดนตรีเล็ก ๆ ตามร้านกาแฟและวงดนตรีของพ่อด้วย เขาเคยบอกว่ามีบ่อยครั้งที่คิดดนตรีขึ้นมาได้ระหว่างที่กำลังขัดร้องเท้าตอนเช้าตรู่ขณะที่คนอื่นยังไม่ตื่นMarion Bauer และ Ethel Peyser ได้กล่าวถึงผลงานและความสามารถของบราห์มส์ไว้ว่า มันไม่ใช่ของง่ายที่จะเขียนถึงบราห์มส์โดยไม่ทำให้คนอ่านรู้สึกว่ามันเป็นเรื่องเกินความจิรง หรือคำชื่นชมที่ว่า ถ้าเราพูดถึงเชมเบอร์ มิวสิก (Chamber Music) เราต้องรับว่าเขาเข้าใจวิธีเขียนให้เหมาะสมกับเครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงอย่างไม่มีใครทำได้ดีเท่าทั้งก่อนและหลังสมัยของ บราห์มส์ ใครพบที่ไหนบ้างว่ามีไวโอลิน คอนแชร์โต้ (Violin Concerto) และเปียโน คอนแชร์โต้ (Piano Concerto) ที่สวยสดงดงามยิ่งกว่าของบราห์มส์ที่ยกตัวอย่างข้างต้นนั้นแสดงให้เห็นถึงความสามารถของบราห์มส์ว่าเป็นที่ยอมรับของคนทั่วไปและผลงานของเขาก็ยังถือว่าเป็นอมตะตลอดกาล ด้วยความที่บราห์มส์เป็นคนที่สุภาพถ่อมตัวมาก หากเขายังอยู่เขาคงป็นการสมควรอย่างยิ่งที่ชนรุ่นหลัง ๆ ยกย่องชมเชยเขาเนื่องจากผลงานของบราห์มส์เขียนขึ้นมาด้วยความหวังผลประโยชน์ที่เป็นวัตถุ เขาคงจะพอใจที่มีคนเข้าใจเขาเช่นนี้ เพราะมันเป็นความจริงที่เขาเองคงอยากให้คนทั้งโลกรู้และปฏิบัติตาม |
|||||||||||||||
ผลงานที่มีชื่อเสียง |
|||||||||||||||
ผลงานดนตรีของบราห์มส์ส่วนใหญ่สะท้อนให้เห็นความรู้สึกอัดอั้นตันใจในความรัก
ดนตรีของบราห์มส์ที่เด่นประกอบด้วย Four Ballades 1854, Cradle Song 1868,
Symphony No.1 in Cm 1876, etc . |
|||||||||||||||
|
|||||||||||||||
จากความเก่งเกินกว่าเด็กอื่น
ๆ ในขณะอายุเพียง 9 ขวบ พ่อแม่จึงส่งไปทดสอบเพื่อเรียน ในสถาบันการดนตรี (Conservatory) จนสามารถผ่านการทดสอบ ซึ่งนับว่าเป็นกรณีพิเศษอย่างยิ่งที่สถาบันแห่งนี้รับนักศึกษาอายุ 9 ขวบ บิเซต์เป็นที่ชื่นชมยินดีของครูที่สอนเนื่องจากเขาเป็นคนที่สุขภาพดีหน้าตาดี อ่อนโยนด้วย มิตรภาพ ไม่อวดเก่งและอุปนิสัยดีซึ่งเป็นคุณสมบัติที่นักดนตรีในรุ่นหลัง ๆ น่าจะให้เป็นตัวอย่างเป็น อย่างยิ่งอายุ 18 ปี เขาก็ได้รับรางวัลปรีซ์ เดอ โรม (Prix de Rome) ซึ่งเป็นรางวัลสำหรับนักประพันธ์ ดนตรีวัยรุ่นให้ได้เข้าไปอยู่ใน French Academy ในโรม อิตาลีเป็นการเจือจุนให้ได้ใช้เวลาอย่างเต็มที่ในการประพันธ์ดนตรีอย่างเดียว รางวัลนี้เป็นความฝันของนักศึกษาวิชาดนตรีในฝรั่งเศสทุกคน (ณรุทธ์ สุทธจิตต์,2535 :170) บิเซต์เป็นนักเปียโนฝีมือดีแม้จะไม่ได้ออกแสดงต่อสาธารณะชน เขาสามารถหาเลี้ยงชีพได้ไม่ยากนักด้วยการรับสอนแต่บิเซต์มีความทะเยอทะยานที่จะมีชื่อเสียงในฐานะทั้งนักเปียโนและ นักประพันธ์ดนตรี บิเซต์ลองทำทุกอย่างเท่าที่มีโอกาสแม้แต่การเขียนคอลัมน์ดนตรี บทความชิ้นหนึ่งของเขาพูดถึงแฟชั่นและตัวการที่มีผลต่อวงการดนตรี เขาเขียนด้วยความรู้สึกอันดีประจำตัวเขามีใจความว่า โลกเรามีดนตรีฝรั่งเศส เยอรมัน อิตาเลียน ฮังการี โปแลนด์ และอีกมากมาย ..เรามีดนตรีอนาคต ดนตรีปัจจุบันและดนตรีในอดีต แล้วก็ยังมีดนตรีปรัชญา ดนตรีการเมือง และดนตรีที่พบใหม่ล่าสุด ..แต่สำหรับข้าพเจ้าดนตรีมีอยู่ 2 ชนิดเท่านั้น คือ ดนตรีดี กับดนตรีเลว |
|||||||||||||||
ผลงานที่มีชื่อเสียง |
|||||||||||||||
ในชีวิตอันสั้นของบิเซต์ ผลงานชิ้นเอกคือดนตรีสำหรับอุปรากร
สำหรับเรื่องที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของเขาคือ คาร์เม็น (Carmen) แต่เป็นที่น่าเสียดายที่เขาถึงแก่กรรมก่อนที่จะได้เห็นความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ที่สุดของคาร์เม็น
นอกจากนี้ก็มี The Girl from Arles (L Arlesienne), The Pearl Fishers, The
Fair Maid of perth บิเซต์ถึงแก่กรรมเมื่อ วันที่ 3 มิถุนายน ค.ศ. 1875 ที่กรุงปารีส เมื่ออายุเพียง 37 ปี Top |
|||||||||||||||
ชีวิตของไชคอฟสกีก็คงเหมือน ๆ กับคีตกวีคนอื่น ๆ ทั่ว ๆ ไป กล่าวคือมีทั้งสุขและทุกข์ระคนกันไปชีวิตเหมือนนิยายมากกว่าชีวิตจริง เพราะยามที่ตกอับจะมีกินก็เพียงประทังความหิว และมีที่อยู่อาศัยเพียงแค่ซุกหัวนอน ในยามเมื่อคนอื่นไม่เห็นคุณค่าผลงานของเขาก็ไม่มีค่าอะไร แต่ยังดีที่มีผู้ที่เห็นความสำคัญและคอยจุนเจือค้ำจุนเสมอมาอย่างแทบไม่น่าเชื่อเธอผู้นั้นก็คือ มาดามฟอน เมค (Nadezhda von Meck) เศรษฐีนีหม้ายผู้มั่งคั่ง เธอให้เงินสนับสนุนไชคอฟสกีโดยไม่เคยหวังผลตอบแทนใด ๆ เธอมีความสุขที่ได้มีโอกาสสนับสนุนผู้อื่นให้ทำงานที่เธออยากทำแต่ทำไม่ได้ เพราะเธอเคยใฝ่ฝันที่จะเป็นนักประพันธ์ดนตรีแต่ไม่สามารถทำได้ด้วยใจรักดนตรีในยามว่างจากภาระกิจเธอมักจะนั่งฟังดนตรีเสมอ ดั้งนั้นเธอจึงทดแทนส่วนนี้ด้วยการสนับสนุน ตามความเป็นจริงแล้วถ้าหากในโลกนี้มีคนดีอย่างมาดามฟอน เมค (Nadezhda von Meck) มาก ๆ คงเป็นการดีและทำให้คนในวงการดนตรีมีโอกาสผลิตผลงานที่ดีออกสู่สาธารณะชนมากขึ้น ไชคอฟสกีผู้ซึ่งในระหว่างที่มีชีวิตอยู่เขาไม่เคยได้รับเกียรติอย่างจริงจังจากชาวรัสเซียเลยตรงกันข้ามกับทางยุโรปและอเมริกานิยมชมชื่นในตัวเขามากขณะที่ชื่อเสียงกำลังโด่งดังอยู่นั้นเขาก็ด่วนจบชีวิตลงเสียก่อนซึ่งนับเป็นเรื่องที่น่าเสียดายอยู่มากที่พยายามสร้างงานมากมายแต่บัดนี้เขาเป็นคีตกวีที่ชาวรัสเซียภูมิใจมากที่สุด (ณรุทธ์ สุทธจิตต์,2535 :171) ไชคอฟสกีถึงแก่กรรมด้วยโรคอหิวาต์ซึ่งเกิดจากความไม่เฉลียวใจหลังจากที่รับประทานอาหารเสร็จไชคอฟสกีไปเปิดน้ำประปาที่ก๊อกมาดื่มโดยไม่ได้นำมาต้มเสียก่อน เพราะขณะนั้นที่เมืองเซ็นต์ปีเตอร์สเบริ์กมีโรคระบาดพอดีและมีคนคอยเตือนแล้ว ในที่สุดก็ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน ค.ศ. 1893 . |
|||||||||||||||
ผลงานที่มีชื่อเสียง |
|||||||||||||||
ผลงานที่เด่นประกอบด้วย
Romeo and Juliet : Fantasy Overture 1870, Swan lake 1875-76, Eugene Onegin:Waltz 1879, The Nutcracker-Nutcracker March 1892 . |
|||||||||||||||
|
|||||||||||||||
ผลงานที่มีชื่อเสียง |
|||||||||||||||
ผลงานที่เด่นประกอบด้วย Serenade for String in E : Moderato 1875, The Mother Stands Full of Sorrow 1876-80, Slavonic Dance No8 in G miner 1878, Symphony No.9 From the New World : Largo1892-95 etc..
|
|||||||||||||||
|
|||||||||||||||
เสมอว่า คนขี้ขลาดจะอยู่ในโลกด้วยความลำบาก
และจากคติของชาวอิตาเลียนที่ถือว่า ลูกแมวก็ย่อมจะจับหนูได้ (The children
of cats catch mice) จึงทำให้ทางราชการเมืองลุคคา ได้ยื่นมือให้ความช่วยเหลือครอบครัวของเขาโดยหวังว่าสักวันหนึ่งปุกชินี
ต้องสามารถเป็นนักออร์แกนแทนพ่อของเขาได้ จนเมื่อปุกชินีอายุได้ 14 ปีเขาก็สามารถเล่นออร์แกนตามโบสถ์ต่าง ๆ หลายแห่งได้ตลอดจนเล่นเปียโนตามสถานที่เต้นรำได้บ้าง พออายุได้ 19 ปีก็สามารถแต่งเพลงโมเต็ต (Motet)ได้ นอกจากนี้ยังได้ทำงานเป็นนักออร์แกนประจำอยู่ San Martino ในระหว่างที่เรียนไปด้วย ปุกชีนีเป็นคีตกวีที่มีความสามารถในด้านการประพันธ์อุปรากรโดยเฉพาะเรื่อง ลา โบแฮม (La Boheme) เป็นเรื่องที่กระทบกระเทือนอารมณ์อย่างแรงเพราะปุกชินีคิดเปรียบเทียบตัวเขาเองว่าคล้ายกับโรดอลโฟ (Rodolfo) พระเอกในเรื่อง พอเรื่องดำเนินถึงบทของมิมี (Mimi) นางเอกของเรื่องกำลังจะตายปุกชินีจะนั่งน้ำตาไหลเพราะมีอารมณ์คล้อยตามเรื่องไปด้วย ปุกชินีได้ตั้งปณิธานไว้ว่าจะต้องแต่งอุปรากรที่ทำความสั่นสะเทือนอารมณ์และความรู้สึกของคนทั่วทั้งโลกให้ได้เขาจึงศึกษาและอ่านหนังสือต่าง ๆ นับเป็นพัน ๆ เรื่อง แล้วเขาจึงแต่งมหาอุปรากรเรื่องทอสกา (Tosca) ขึ้น ทอสกาเป็นมหาอุปรากรสำคัญเรื่องหนึ่งของโลกได้นำออกแสดงครั้งแรกที่โรงละครเทียโตร กอสตันซี (Teatro Costanzi) ในกรุงโรม อิตาลี เมื่อวันที่ 14 มกราคม ค.ศ. 1900 และในปีเดียวกันก็นำไปแสดงที่นครลอนดอน ประเทศอังกฤษ และใน นครนิวยอร์ค ประเทศสหรัฐอเมริกา นับเป็นความสำเร็จอย่างน่าพอใจที่สุดสำหรับปุกชินี ในบั้นปลายชีวิตของปุกชีนีได้ใช้เวลาหาความสุขสำราญและพักผ่อนหย่อนใจอย่างเต็มที่และสนุกสนานอยู่กับการเล่นเรือยอร์ชการขับรถยนต์คันใหม่ ๆ ใช้เสื้อผ้าราคาแพง ๆ แต่เขาก็สนุกเพลิดเพลินอยู่กับสิ่งเหล่านี้ได้ไม่นานนักก็เบื่อ สิ่งหนึ่งที่ทำให้ใจเขาไม่สบายคือเรื่องผมหงอกของเขาและเขาก็พยายามย้อมให้ดำอยู่เสมอขณะอายุ 66 ปี หมอได้ตรวจพบว่าเขาเป็นมะเร็งในหลอดลมจึงเข้ารับการผ่าตัด เมื่อการผ่าตัดเสร็จเรียบร้อยแล้วโรคหัวใจก็ตามมาอีก ปุกชีนี ถึงแก่กรรมในวันที่ 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 1924 ที่กรุงบรัสเซล ประเทศเบลเยี่ยม |
|||||||||||||||
ผลงานที่มีชื่อเสียง |
|||||||||||||||
ผลงานที่สำคัญของปุกชีนี
ประกอบด้วย Manon Lescaut, La Boheme, Tosca, Madama Butterfly และ Turandot
เสร็จสมบูรณ์โดย Franco Alfano หลังปุกชินีถึงแก่กรรม นอกจากนี้โอเปร่าชวนหัวองค์เดียวจบ เรื่อง Gianni Schicchi เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่นิยมแสดงเสมอ ปุกชินีเป็นผู้หนึ่งที่เน้นการประพันธ์โอเปร่าในแนวชีวิตจริงด้วยการเน้นสถานการณ์และความรู้สึกพื้นฐานของมนุษย์เป็นหลักของการดำเนินเรื่องราว |
|||||||||||||||
BACK |
This
site is best viewed with IE 5.0 800 x 600
Copyright ฉ 2003 All rights reserved. Site designed by Komson |