เราเรียกช่วงเวลาหลังจากการตายของ เจ.เอส.บาค (J. S. Bach1730-1780) ว่า The early classical period ดนตรีในสมัยบาโรกนั้นมีรูปพรรณ (Texture) ที่ยุ่งยากซับซ้อนส่วนดนตรีในสมัย คลาสสิกมีลักษณะเฉพาะคือมี โครงสร้าง (Structure) ที่ชัดเจนขึ้น การค้นหาความอิสระในด้าน วิชาการ เป็นหลักสำคัญที่ทำให้เกิดสมัยใหม่นี้
หลักเพียงทำนองเดียวโดยมีแนวเสียงอื่นประสานให้ทำนองไพเราะขึ้น คือการใส่เสียงประสาน ลักษณะของบาสโซ คอนตินูโอเลิกใช้ไปพร้อม ๆ กับการสร้างสรรค์แบบอิมโพรไวเซชั่น (Improvisation) ผู้ประพันธ์นิยมเขียนโน้ตทุกแนวไว้ ไม่มีการปล่อยว่างให้ผู้บรรเลงแต่งเติมเอง ลักษณะของบทเพลงก็เปลี่ยนไปเช่นกัน
orchestra เขาเป็นผู้พัฒนาสไตล์ใหม่ของการประพันธ์ดนตรี (Composition) และ การเรียบเรียงสำหรับวงออร์เคสตรา (Orchestration) และยังพัฒนา The sonata principle in 1st movement of symphonies, second theme of Stamitz ตรงกันข้ามกับ 1st theme ซึ่ง Dramatic, striking หรือ Incisive (เชือดเฉือน) เขามักเพิ่มการแสดงออกที่เป็นท่วงทำนองเพลงนำไปสู่บทเพลงใน ซิมโฟนี การเปลี่ยนความดัง - ค่อย (Dynamic) อย่างฉับพลันในช่วงสั้น ๆ ได้รับการแสดงครั้งแรกโดย Manheim orchestra เขายังขยาย Movement scheme of symphony จากเร็ว-ช้า-เร็ว เป็น เร็ว ช้า minuet เร็ว (minuet คือดนตรีบรรเลงเพื่อการเต้นรำคู่ในจังหวะช้า 3 จังหวะ ) ใช้ครั้งแรกโดย GM Monn แบบแผนนี้กลายเป็นมาตรฐานในซิมโฟนีและ สตริงควอเตท (String quartet )
เพลงในสมัยนี้เป็นดนตรีบริสุทธิ์ส่วนใหญ่ กล่าวคือ เพลงที่ประพันธ์ขึ้นมาเป็นเพลงซึ่งแสดงออกถึงลักษณะของดนตรีแท้ ๆ มิได้มีลักษณะเป็นเพลงเพื่อบรรยายถึงเหตุการณ์หรือเรื่องราวใด ๆ ซึ่งเป็นลักษณะที่มีกฎเกณฑ์ ไม่มีการใส่หรือแสดงอารมณ์ของ ผู้ประพันธ์ลงในบทเพลงมากนัก ลักษณะของเสียงที่ดัง - ค่อย ค่อย ๆ ดัง และค่อย ๆ เบาลง
(JC Bach, Sammartini, Hasse, Pergolesi ) Galant เหมือนกับ โรโคโค (Rococo Period ) ในแนวคิดของ Heavy ornamentation แต่ต่างกันตรงที่ลักษณะดนตรีมีโครงสร้างและประโยคเพลงที่มีแบบแผนและรูปแบบที่มีความอ่อนไหวง่าย พยายามแสดงออกถึงความรู้สึกที่แท้จริงและเป็นธรรมชาติ แทรกความโรแมนติกของศตวรรษที่ 19 เข้าไป จุดหมายเพื่อแสดงความเป็นตัวของตัวเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งดนตรีของ CPE Bach และ WF Bach ด้วย |
|||||||||||||
Top | |||||||||||||
ทางคลาสสิกดังกล่าว ยังเคยมีปรากฏมาก่อนในช่วงสมัยอาร์สอันติควา (Ars Antiqua) และมีเกิดขึ้นให้พบเห็นอีกในบางส่วนของงานประพันธ์การดนตรีในศตวรรษที่ 20
|
|||||||||||||
ลักษณะทั่ว ๆ ไปของการดนตรีในสมัยคลาสสิก | |||||||||||||
|
|||||||||||||
สรุปลักษณะสำคัญของดนตรีสมัยคลาสสิก (ไขแสง ศุขะวัฒนะ,2535 :105) | |||||||||||||
1. ฟอร์ม
หรือคีตลักษณ์ (Forms) มีโครงสร้างที่ชัดเจนแน่นอน และยึดถือปฏิบัติมาเป็น
|
|||||||||||||
ประวัติผู้ประพันธ์เพลง | |||||||||||||
ในสมัยคลาสสิกได้มีผลงานซึ่งเป็นทั้งชีวิตและงานของนักประพันธ์สำคัญ ชั้นนำและเป็นที่รู้จักจนถึงปัจจุบัน 4 ท่าน คือ |
|||||||||||||
1. คริสโตฟ วิลลิบาล์ด กลุด (Christoph Willibald Gluck 1714-1798) | |||||||||||||
ระหว่างปี1745 1760 เขาเดินทางทั่วยุโรปเพื่อสำรวจโอเปร่าในขณะนั้น
ด้วยความเป็นนักทฤษฎีพอ ๆ กับความเป็นนักประพันธ์ ในปี 1761เขาเห็นว่าสิ่งสำคัญในบัลเล่ต์
(Ballet)และโอเปร่า (Opera) ควร เป็นเรื่องราวและอารมณ์ของผู้แสดงไม่ใช่กลอุบายในการกระตุ้นความสนใจด้วยเล่ห์ ความโดดเด่นที่ผิด ๆ และเค้าโครงเรื่องประกอบมากมายซึ่งเป็นในแง่การค้าของสมัยบาโรก เขาตั้งใจแต่งโอเปร่าในปลายศตวรรษที่ 18 โดยยกเลิก Vocal virtuosity และทำให้เกิดดนตรีที่สนองความต้องการของการละคร (Drama) งานชิ้นแรกของเขาได้แก่โอเปร่า ที่เป็นที่นิยมที่สุดคือ Premiered in Vienna ในปี 1762 ซึ่งเป็นพื้นฐานของ ศิลปะแบบคลาสสิกของกรีก โดย Orpheus ( เทพเจ้าออฟีอูส เป็นนักดนตรียิ่งใหญ่ที่สุดในเทพนิยายโบราณ กล่าวถึงการสูญเสียภรรยาสุดที่รักของเขาแก่โลกใต้พิภพ ) สาธารณะชนในเวียนนายังไม่ได้ยอมรับผลงานของเขาในขณะนั้นจนกระทั่งปี 1770 เขาย้ายไปปารีสตามคำขอร้องของเจ้าหญิงมารี อังตัวเนตต์ ( Marie Antoinette) ซึ่งเขาได้ประสบความสำเร็จกับโอเปร่าของเขา Orfeo and Eurydice, Alceste ในปี 1774 และ Iphigenie en Tauride ในปี 1779 ซึ่งเป็นงานที่ยิ่งใหญ่และเป็นงานที่แข่งขันกันระหว่างกลุดกับพิชชินนี (Piccini 1728 1800 ) ได้นำออกแสดงผลัดกันคนละหนเพื่อพิสูจน์ความดีเด่นกัน ในที่สุดกลุดก็ได้รับชัยชนะอย่างงดงาม พิชชินนีก็ยอมรับว่างานของกลุดชิ้นนี้ดีเยี่ยมจริง ๆ ทำให้สังคมส่วนรวมเกี่ยวกับโอเปร่าและนักวิจารณ์ยอมรับเขามากขึ้นซึ่งงานของเขาเป็นที่นิยมมากในปารีสขณะนั้น ด้วยการแต่งโอเปร่าครั้งสุดท้ายของเขาในปี 1779 เขาไปที่เวียนนาที่ซึ่งเขาถูกเชิญให้เป็นนักประพันธ์ของราชสำนักของจักรพรรดิ์โจเซฟที่ 2 เขาตายในปี 1787 ถึงแม้ว่าแนวดนตรีของเขาจะจบลงเมื่อเขาตาย แต่ Operatic reform ของเขาได้เป็นแบบอย่างแก่นักประพันธ์รุ่นหลังต่อมาและมีอิทธิพลต่องานแสดงดนตรีบนเวทีของ Mozart, Berliozและ Wagner (ไพบูลย์ กิจสวัสดิ์,2535 : 100) |
|||||||||||||
2. ฟรานซ์ โจเซฟ ไฮเดิน (Franz joseph Haydn 1732-1809) | |||||||||||||
Top | |||||||||||||
อยู่กับเจ้าชายปอล แอนตัน อีสเตอร์ฮาซี่ (Prince Paul anton Esterhazy) เขาทำงานกับ ตระกูลอีสเตอร์ฮาซี่เป็นเวลา 30 ปี โดยความเป็นจริงเป็นเหมือนคนรับใช้ แต่ถึงอย่างไรก็ดี เขาได้ประพันธ์ซิมโฟนี โอเปร่าและเชมเบอร์ มิวสิกเป็นจำนวนมากเขามีชื่อเสียงมากในยุโรปด้านดนตรี เขาพบ Mozart ตอนเด็ก ๆ ในปี 1781 และกลายเป็นเพื่อนสนิทกันและชื่นชมในดนตรีของกันและกันมาก เมื่อเจ้าชาย นิโคลาส The Magnificent แห่งตระกูลอิสเตอร์ฮาซีได้สิ้นพระชนม์ลงในปี 1790 เขาถูกปลดออกโดยผู้รับตำแหน่งต่อเขาได้รับเงินบำนาญและรายได้เข้าจากสาธารณะชนและนักเรียนของเขา จากนั้นย้ายกลับเวียนนาและถูกเชิญไปลอนดอนโดย เจ.พี. ซาโลมอน (J.P. Salomon) เพื่อไปจัดแสดงคอนเสิร์ต ในระหว่างการเดินทางนี้เป็นการเดินทางไปอังกฤษครั้งที่ 2 โดยตกลงจะประพันธ์เพลงให้ 12 เพลง คือชุด London symphonies เพลงสุดท้าย เขาถูกเชิญให้ประพันธ์ ออราทอริโอ (Oratorio) ในสไตล์ของไฮเดิล (Handel) เขาประพันธ์ได้ 2 เรื่องและดนตรีของเขาเปลี่ยน the majesty of the Baroque ไปเป็นการเริ่มต้นของศตวรรษที่ 19 โดย Choruses เช่น The Heavens are Telling from The Creation แสดงครั้งแรกในปี1798 ปัจจุบันรู้จักในชื่อว่า The father of the Symphony and the String quartet ที่จริงแล้วเขาไม่ได้คิดค้นมันขึ้นเองทั้ง 2 เรื่องแต่ได้พัฒนามันจากรูปแบบที่มีอยู่ก่อนแล้วทั่วยุโรป ไฮเดิลประพันธ์ Sonatas, quartets, symphonies, operas,concertos เป็นจำนวนหลายร้อย ดนตรีของเขาดูง่ายมีเสน่ห์มีการต่อสู้ของแฟนซีและตลกที่แท้จริงผสมอยู่ใน Classical veneer ตัวอย่างที่มีชื่อเสียงมากที่สุดได้แก่ The Surprise ในท่อน (movement) ที่ 2 ของซิมโฟนีของเขา No. 94 in G major แต่การทำตามความคิดของเขาจะพบได้ใน The finale of the Symphony no. 82 หรือเรียกอีกชื่อว่า The bear เป็น The bass drone และ Chortling bassoons ซึ่งเป็นเรื่องของหมีที่เต้นรำ เมื่อถึงฤดูใบไม้ผลิในปี 1809 กองทัพฝรั่งเศสภายใต้การนำของนโปเลียน ยกทัพเข้ายึดครองเวียนนา ออสเตรียไว้ได้ เขาเศร้าเสียใจมากกับการเสื่อมอย่างรวดเร็วและได้ถึงแก่กรรมด้วยอาการสงบในวันที่ 31 พฤษภาคม 1809 ทหารฝรั่งเศสที่กำลังยึดครองเวียนนาอยู่ขณะนั้นได้ทำพิธีฝังศพให้แก่เขาอย่างสมเกียรติ ณ โบสถ์แห่งหนึ่งในเวียนนา |
|||||||||||||
3. โมสาร์ท (Wolfgang Amadeus Mozart 1756-1791) | |||||||||||||
Top | |||||||||||||
(Constanze Weber) ในเดือนสิงหาคม 1782 หลังจากนั้นไม่นานทุกอย่างเริ่มดีขึ้น ในปี 1782 |
|||||||||||||
เริ่มด้วยผลงาน The Singspiel Die Entfuhrung ans dem Serail (The Abduction
from the Seraglio) โมสาร์ทอาจจะเป็นนักประพันธ์คนเดียวในประวัติศาสตร์ที่เขียนเพลงอย่างประณีตทุกรูปแบบของดนตรีตลอดชีวิตของเขา ผลงาน ประเภทเซเรเนด (Serenades), Divertimenti,Dances ที่เขาเขียนขึ้นเพื่อความบันเทิงและงานปาร์ตี้ของขุนนาง ล้วนเป็นความยิ่งใหญ่ของสมัยคลาสสิก (Classical age of elegance)และถูกดัดแปลงโดยนักประพันธ์ชื่อ Eine Kleine Nachtmusik เป็น Serenade in G major ในเวียนนาเขาเป็นคนสำคัญในราชสำนักของจักรพรรดิ์โจเซฟที่ 2 (Joseph1741 1790) ที่ซึ่งเขาได้เขียนดนตรีที่ยิ่งใหญ่มากมาย ตัวอย่างเช่น The last string quartets, The string quintets, The quintet for clarinet and strings, The mass in C major, Requiem (ซึ่งเขาเขียนยังไม่เสร็จ), The Serenade for thirteen wind instruments, The Clarinet connect, และ The late piano concerto นอกจากนี้ Piano concerto ของเขายังคงมีรูปแบบของ The classic concerto form เขาปรับปรุงพัฒนามาเป็นงานของ Symphonic breadth and scope, Concerto ของเขามักเริ่มต้นด้วยรูปแบบโซนาตาในท่อนที่ 1 ตามด้วยท่อนที่ 2 ที่นุ่มนวลและเป็นทำนองเพลงโดยปกติมีเพลงที่มีชีวิตชีวารวมอยู่ด้วยพร้อมทั้งมี รอนโด (Rondo) หมายถึงเพลงที่บรรเลงโดยการย้อน ที่ดึงดูดความสนใจ เช่น The piano concerto no.22 in E flat ในซิมโฟนี 3 ชิ้นสุดท้าย ชิ้นที่ 2 คือ Symphony no.40 in G minor เขาได้ใส่ passion และการแสดงออกซึ่งไม่เคยมีมาก่อนในการเขียนซิมโฟนีจนกระทั่งถึงสมัยของ เบโธเฟน (Beethoven) งานด้านอุปรากรนั้นในปี ค.ศ. 1786 โมสาร์ทได้ร่วมมือกับลอเรนโซ ดา พอนเต้ (Lorenzo Da Ponte) ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญประจำโรงละครหลวงในกรุงเวียนนาเขียน The marriage of Figaro ขึ้น อุปรากรเรื่องนี้เมื่อแสดงครั้งแรกไม่ประสบความสำเร็จดังที่ตั้งใจไว้แต่ต่อมามีคนนำไปแสดงที่ กรุงปร๊าค นครหลวงของโบเฮเมีย ประเทศเชคโกสโลวาเกีย ได้รับความสำเร็จอย่างงดงาม ค.ศ. 1787 เขียนอุปรากรเรื่อง ดอน โจวันนี (Don Giovanni) ซึ่งเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับการผจญภัยของชายหนุ่มนัก รักที่ชื่อว่า ดอน จิโอวันนี หรือดอน ฮวน (Don Juan) ได้สำเร็จ ในระหว่างที่เขาอยู่ที่เวียนนาได้เป็นเพื่อนสนิทกับไฮเดิล (Franz Joseph Haydn) ซึ่งมีอิทธิพลต่อผลงานของเขาในระหว่างปี 1782 1785 โมสาร์ท (Mozart) ได้ประพันธ์ Six string quartets ซึ่งอุทิศให้ ไฮเดิล บางส่วนเขาทั้งสองเล่นด้วยกัน ด้วยการจัดการการเงินที่ผิดพลาดและด้วยความไม่มีประสบการณ์ชีวิตขาดการไตร่ตรอง และความประพฤติที่เหมือนเด็กที่ปีกกล้าขาแข็งและใช้ชีวิตอย่างเจ้านายทำให้เขาตกระกำลำบาก ในการดำเนินชีวิตภายในปี 1790 เขาได้เขียนจดหมายถึงเพื่อนหลายคนบรรยายถึงเขาและครอบครัว ( เขาและภรรยามีลูกด้วยกัน 6 คน มีชีวิตรอดอยู่เพียง 2 คน ) ความลำบากจนต้องขอ ทานเพื่อยังชีพ และในระหว่างนี้เอง เขาก็ป่วยหนักด้วยโรคไตแต่ด้วยความสำเร็จของ The Magic Flute เขาได้รับเงินจ่ายประจำปี เขาจึงเริ่มต้นมีความมั่นคงทางการเงินอีกครั้งในขณะที่โรคของเขานำเขาไปสู่ความตายเมื่อเขาอายุได้ 36 ปี เขาถูกฝังเหมือนชาวเวียนนาทั่วไปโดยคำบัญชาของจักรพรรดิ์โจเซฟในหลุมศพสามัญทั่วไปซึ่งที่ ฝังศพแน่นอนจนปัจจุบันก็ยังไม่ทราบ นักประพันธ์ในปลายศตวรรษที่ 19 ที่บูชาและยกย่องเขามากได้แก่ Richard Wagner และ Peter Tchaikovsky และดนตรีของเขามีอิทธิพลต่อ The neo classical compositions ของ Igor Stravinsky และ Sergei Prokofiev ในศตวรรษที่ 20 |
|||||||||||||
4 . เบโธเฟน (Ludwig van Beethoven 1770-1827) | |||||||||||||
Top | |||||||||||||
ได้ ขอให้ท่านลองคิดดูว่า ศิลปินที่ใช้กระแสเสียงเป็นสื่อกลางในการสร้างสรรค์ผลงานจะระทมทุกข์เพียงใด เมื่อรู้ว่าความย่อยยับนี้กำลัง มาสู่เขาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จากเสียงของตัวโน้ต 4 ตัว "สั้น-สั้น-สั้น-ยาว"ที่ผู้ฟังส่วนมากคุ้นหูในท่อนแรก ไปจนกระทั่งเสียงแห่งความมีชัยชนะ เคราะห์กรรมในท่อนสุดท้ายของซิมโฟนีหมายเลข 5 ย่อมจะไม่เป็นที่สงสัยเลย ซิมโฟนีบทนี้ได้กลายเป็นซิมโฟนีที่มีชื่อเสียง โด่งดังที่สุดของเบโธเฟนหรือแม้แต่ของคีตกวีทั้งปวงที่ได้แต่งซิมโฟนีขึ้น เบโธเฟนได้ใช้ธรรมชาติเป็นสิ่งปลอบประโลมใจในยามทุกข์ เขามักจะออกไปสู่ชนบทเสมอ เพื่อสัมผัสกับท้องทุ่งที่เขียวชอุ่ม อากาศสดชื่น แสงแดดอ่อน ๆ เสียงของกระแสน้ำในลำธาร เสียงนกตามกิ่งไม้ พายุฝน ความชุ่มฉ่ำภายหลังฝนตก ฯลฯ สิ่งและสภาวะเหล่านี้ ได้นำมาบรรจุลงอย่างสมบูรณ์แล้วในซิมโฟนีหมายเลข 6 ซึ่งผู้ฟังรู้จักกันดีชื่อว่า "Pastoral" เบโธเฟนนั้นไม่เพียงแต่จะเป็นนักธรรมชาตินิยม ที่ยิ่งใหญ่คนหนึ่ง หากเขายังเป็นผู้ให้แนวคิดใหม่ ๆ กับคีตกวีโรแมนติกในสมัยต่อมาอีกด้วย เขาได้เริ่มวางเค้าโครง ซิมโฟนีหมายเลข 7 เมื่อ ปี ค.ศ. 1811 และได้แต่งเสร็จเรียบร้อยในปีต่อมา ซิมโฟนีบทนี้ ริชาร์ด วากเนอร์ ได้ให้ฉายาว่า "The apotheosis of the Dance" ทั้งนี้เพราะวากเนอร์ได้ฟังบทบรรเลงนี้เขารู้สึกเหมือนว่าได้ร่วมสนุกกับแบ็คคัส เทพเจ้าแห่งเหล้าองุ่น และเหล่าบริวารในงานเลี้ยงฉลองกันอย่างครึกครื้นก่อนที่ความโอฬารตามแบบฉบับของเบโธเฟนจะได้ปรากฏแก่ผู้ฟังในเวลาต่อมา เบโธเฟนได้ถูกนักวิจารณ์ร่วมสมัย ประนามเขาอย่างไม่ไว้หน้าว่า เป็นคนป่าเถื่อนและมีสติไม่สมบูรณ์ (ณรุทธ์ สุทธจิตต์,2535 :160) ในซิมโฟนีหมายเลข 8 เบโธเฟนได้สอดแทรกการมองโลกในแง่ดีและอารมณ์ขันของเขาลงไปอย่างได้ผล ซิมโฟนีบทนี้ก็เช่นเดียวกับซิมโฟนีหมายเลข 4 กล่าวคือ มันเปรียบดุจดอกกุหลาบอันบอบบาง อยู่ระหว่างผาหินทั้งสอง (คือซิมโฟนีหมายเลข 7 และหมายเลข 9) ซิมโฟนีหมายเลข 9 "Choral" ได้อุบัติขึ้นหลังจากหูทั้งสองของเขาไม่สามารถจะรับเสียงอะไร ๆ ได้อีกต่อไป เบโธเฟนได้แสดงความปรารถนาอย่างแรงกล้าในอันที่จะเห็นมนุษย์อยู่ร่วมกัน อย่างสันติ เขาได้กำหนดให้มีการขับร้องบทกวีของซิลเลอร์ในท่อนสุดท้ายของซิมโฟนีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดบทนี้
ในระยะเวลา 57 ปี ของชีวิตเบโธเฟนกล่าวได้ว่า เป็นช่วงเวลาแห่งการสร้างสรรค์ผลงานทางดนตรีในรูปแบบใหม่จากคลาสสิกมาสู่สมัยโรแมนติกด้วยความตั้งใจจริงผนวกกับความมีอัจฉริยะทำให้เบโธเฟนเป็นผู้ประพันธ์เพลงที่ยิ่งใหญ่ตลอดกาล ยากที่จะหาผู้ประพันธ์คนอื่นมาเทียบเทียมได้ จึงไม่น่าแปลกใจที่เพลงของเบโธเฟนยังคงเป็นที่นิยมฟังและนิยมบรรเลงกันตลอดมาจนกระทั่งปัจจุบัน ตัวอย่างเพลง Gluck : Orfeo and Eurydice Haydn : Symphony No.104 The Creation (Oratorio) String Quartet in G Major, Op.64 No.4 Mozat : Symphony No.41 in C Major Jupiter K.551 Piano Concerto in C Major, K.467 String Quartet in G Major, K.387 The marriage of Figaro (Opera) Don Giovanni (Opera) The Magic Flute (Opera) D. Scarlatti : Sonata in D Major,K.119 J.C.Bach : Concerto for Harpsichord or Piano and Strings in E flat Major,Op.7 No.5 |
|||||||||||||
|
|||||||||||||